|
![]()
|
ภาษาพวน ภาษาพวนจัดอยู่ในภาตระกูลไต ภาษาพวนมีคำศัพท์บางคำที่ใกล้เคียงกับภาษาลาวและภาษาไทยภาษาพวนไม่มีตัว รควบกล้ำ เช่น ……….. ไม่มีตัว ก เป็นตัวสะกด เช่น เชือก = เซือะ, ศอก = เศาะ ปาก = ปะ ออกเสียง ซ เป็นเสียง ช หรือ เสียง ส เป็นเสียง ฉ เช่น ช้าง = ซ้าง ออกเสียง สระเอีย เป็น สระเอือ ตัวอย่างเช่น เกลือ = เกีย พยัญชนะ - ภาษาพวนมีหน่วยเสียง 20 หน่วย คือพยัญชนะที่แตกต่างกับหน่วยเสียง ภาษาพวน จะไม่มีเสียง ช และ ฉ (จะออกเป็น ซ และ ส แทน) ไม่มีเสียง ร (จะออกเสียงเป็น ฮ หรือ ล) มีเสียง ญ นาสิกเพิ่มขึ้น แต่เสียงพยัญชนะ ย ก็ยังอยู่ เสียงพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาพวนไม่มีเสียงควบกล้ำเสียงสะกด เสียงสะกดที่ใช้แตกต่างจากเสียงสระภาษาไทย คือ เสียง ก ในคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว ของภาษาไทย เช่น ปาก ออก ตาก เปียก ภาษาพวนจะออกเสียงสั้น และหยุดที่เส้นเสียง คือ ปะ เอาะ ตะ เปียะ เสียงสระ - สระของภาษาพวนมีสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 6 เสียง (ภาษาไทยมี 5 เสียง) และที่น่าสนใจคือเสียงสระไอในภาษาไทย จะเป็นสระเออในภาษาพวน เสียงวรรณยุกต์ 1. คำเป็นมี ก จ ด ต บ ป อ เป็นพยัญชนะต้นแต่ออกเสียงตรี 2. เสียงวรรณยุกต์จัตวา จะออกเสียงต่ำ คล้ายเสียงเอก 3. คำตาย สระเสียงสั้น ภาษาพวนจะออกเสียงสูงขึ้นหรือสูงตก แตกต่างจากภาษาไทย(http://www.rits.ac.th/service/office/art/thaipoun.html#พวนบ้านหมี่ accessed on 9/3/49)
|
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
จัดทำโดยนางฐิติรัตน์ พิมพ์ทนต์
โรงเรียนวัดหนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี
เขต 1
Copy(C) 2007 Mrs.thitirud Pimton.All rights reserved.