|
![]()
|
|
ความเป็นมา เดือนสามประเพณี “กำฟ้า”หรือ “ค้ำฟ้า”สุภาวดี เชื้อสวย (2538)ได้กล่าวถึงประเพณีกำฟ้า ไว้หลายลักษณะ ดังเช่น โพธิ์ แซมลำเจียก (221 – 232 : 2537) ก็ได้กล่าวถึงประเพณีกำฟ้า หรือค้ำฟ้า ไว้ดังนี้เป็นประเพณีการแสดงความเคารพสักการะเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน และเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหาย หรือเป็นแสดงความนับถือฟ้า โดยการบูชาฟ้าเมื่อมีเสียงฟ้าร้องในครั้งแรกของ เดือน ๓ ซึ่งเป็นการฟังเสียงว่าแล้วจะมีการทำนายความหมายของเสียงฟ้าร้องว่าทำให้เกิดผลผลิตในแต่ละปีเป็นอย่างไร ในฤดูกาลทำนาของปีต่อไป จะประกอบพิธีใน เดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ จะเป็นประเพณีของคนพวนในจังหวัดลพบุรี (ส่วนจังหวัดอื่นนั้น จะตรงกับเดือนอ้ายขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ขึ้น ๑๓ ค่ำ แล้วแต่การกำหนดของแต่ละท้องที่)ซึ่งจะเป็นการทำบุญประกอบพิธีกรรมบูชาเทพยดาผู้รักษาฝากฟ้า เพื่อจะได้ดลบันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล เป็นการไหว้ฟ้า ในอดีตจะมีการทำขนมจีน (คนพวนเรียกว่าข้าวปุ้น)น้ำยา น้ำพริก และข้าวจี่ (ที่ทำจากแป้งขนมจีน นำมาแผ่เป็นแผ่นบางๆ แล้วนำมาปิ้งให้สุก)เพื่อนำไปทำบุญในตอนเช้า แต่ได้มีการเปลี่ยนมาทำข้าวหลามแทนเพราะการทำขนมจีนนั้นจะมีการทำทุกบุญ ทุกเทศกาล ในการทำข้าวหลามเมื่อจะมาทำรวมกันที่วัด มีการจัดทำประรำพิธี ทำบ่ายศรี ซึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านจะมาช่วยกันทั้งชาย และหญิง ซึ่งตรงกับวันสุกดิบ ของเดือน ๓ ขึ้น ๒ ค่ำ ทำให้หนุ่ม – สาว มีโอกาสได้พูดคุยกัน ซึ่งข้าวหลามที่เผ่าที่วัดนี้จะเรียกว่า “ข้าวหลามทิพย์”แต่ในปัจจุบันการทำข้าวหลาม ข้าวจี่ จะนิยมเผ่ากันที่บ้าน ไม่มาทำที่วัดเหมือนแต่ก่อน แล้วจึงนำไปตักบาตรทำบุญที่วัด เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผีปู่ ย่า ตา ยาย และเทวดาฟ้าดิน |
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
จัดทำโดยนางฐิติรัตน์ พิมพ์ทนต์
โรงเรียนวัดหนองหอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี
เขต 1
Copy(C) 2007 Mrs.thitirud Pimton.All rights reserved.