ตามรอยประวัติศาสตร์
จังหวัดสระแก้วมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานนับ
4,000 ปี ตั้งแต่ยุคหินใหม่-ยุคโลหะ โดยมีการ ค้นพบวัตถุโบราณที่บ้านโคกมะกอก
ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ ในยุคต่อมาก็มีการค้นพบโบราณ วัตถุอีก
เช่น ที่อำเภออรัญประเทศและเขตอำเภอตาพระยา แสดงหลักฐานว่าสระแก้วเคยเป็นชุมชน
สำคัญที่มีความเจริญรุ่งเรืองในยุคเจนละทวารวดี มีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
และมีกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองนับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย
ดังจะเห็นได้จาก โบราณสถานและจารึกรูปอักษรปัลลวะต่าง ๆ ที่ปรากฏที่ปราสาทเขาน้อย
เขตอำเภออรัญประเทศ ซึ่งถือกันว่าเป็นหลักฐานบันทึกศักราชที่เก่าที่สุดในกลุ่มจารึกรุ่นแรกที่พบในประเทศไทย
สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช 1180
นอกจากนี้ยังพบหลักฐานความเจริญของอารยธรรมขอมระหว่างพุทธศตวรรษที่
15-16 ในแถบนี้ อย่างมากมาย มีทั้งปราสาทอิฐ ปราสาทหิน เตาเผาเครื่องถ้วย
และคูเมืองโปราณที่ยังหลงเหลือร่องรอย ปรากฏในปัจจุบัน เช่น จารึกพบที่ปราสาทสล็อกก็อกธมอีก
2 หลัก ซึ่งในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 ปราสาทสด๊อกก๊อกธมได้ถูกสร้างขั้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระศิวะ
ดังข้อความในจารึกสล็อกก็อกธมหลักที่ 1 ได้กล่าวถึงว่าในปีพุทธศักราช
1480 พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 โปรดให้นำศิลาจารึกมาปักไว้ที่ปราสาท สล็อกก็อกธม
เพื่อประกาศห้ามเรียกข้าของเทวสถานแห่งนี้ ไปใช้ในกิจการอื่น แต่ให้ข้าของเทวสถาน
ได้บำรุงรักษาและบูชาพระศิวลึงค์หรือรูปเคารพ ซึ่งได้ประดิษฐานอยู่
ณ เทวสถานสล็อกก็อกธมนี้ตลอดไป ส่วนจารึกอีกหลักหนึ่งได้กล่าวสรรเสริญ
พระเจ้าอาทิตยวรมันที่ 2 ซึ่งได้ทรงบูรณะโบราณสถานแห่งนี้จนสำเร็จ
พร้อมจารึกที่เกี่ยวกับอารยธรรม และศาสนา เป็นต้น
จากจารึกและโบราณสถานที่พบนี้
สามารถบ่งบอกให้ทราบถึงระบบการปกครองของอาณาจักรขอม โบราณบนผืนแผ่นดินสระแก้วแห่งนี้
เปรียบเสมือนมรดกทางภูมิปัญญาของบรรพชนที่มีคุณค่าเป็น คุณประโยชน์ต่อการศึกษายิ่ง

|