ฮีตที่ ๑ บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนเจียง
บุญเข้ากรรมเป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนและมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไปทางด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่าง ๆ บุญเข้ากรรมนิยมทำกันในเดือนอ้าย(เดือนเจียง)จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว บุญเข้ากรรมคือพิธีทำบุญโดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ( อาบัติหนักรองจากปาราชิก) คือพิธีเข้ากรรมการเข้ากรรมจัดทำโดยพระสงฆ์พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตหรือที่จำกัดเพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำและเป็นการชำระจิตใจให้หายจากความมัวหมองด้วย
บางแห่งถือว่าเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรม (อยู่ไฟหลังคลอด ) เพราะมารดาท่านเคยอยู่กรรมมาแล้ว
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/social04/17/heat12kong14...
"ฮีตหนึ่งนั้น
เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย
ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม
มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน
อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว"
หนึ่งในฮีต 12 คือบุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานให้ความสำคัญอีกงานหนึ่งเพราะเป็นช่วงที่พระสงฆ์จะมีการเข้ากรรมหรืออยู่บริวาสกรรมเพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเลสตามคติไทยเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงของชาวอีสานจะมีประเพณีการทำบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์ประเพณีเส็งกลอง (แข่งขันตีกลอง) ทำบุญดอกผ้า ประเพณีนวดข้าว เป็นต้นโดยมากงานบุญในเดือนนี้มักจะเป็นพิธีกรรมทางสงฆ์เสียมากกว่าผู้คนมีความเชื่อกันว่า หากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสสงฆ์สูงเพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัยและบริสุทธิ์มากที่สุดการเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรมของแม่ลูกอ่อนหรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรมปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตรทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแม่และลูกส่วนการเข้ากรรมของพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นเรื่องที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาลเป็นการทำเพื่อให้พระที่ต้องอาบัติที่หนักรองลงมาจากปราชิกทำพิธีวุฏฐานพิธีซึ่งเป็นระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัติอันเป็นพิธีกรรมที่ทำให้จิตใจไม่หมองมัวหรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อระลึกถึงการกระทำอันเป็นบาปที่ทำมาตลอดเข้าพรรษาหรือตั้งแต่กำเนิดบ้างก็ว่าการคร่ำเคร่งในการเข้ากรรมของพระสงฆ์เพื่อเป็นการทดแทนการอยู่กรรมของมารดาที่แสนจะทรมานมีตำนานเล่าสืบกันมาว่าในสมัยพุทธกาลในช่วงที่พระภิกษุสงฆ์จะเข้าปริวาสกรรมมีพระสงฆ์รูปหนึ่งล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคาได้เอามือไปจับใบตะไคร่น้ำขาดเพียงเล็กน้อยการทำลายชีวิตในครั้งนั้นเข้าใจว่าเป็นเพียงบาปเล็กน้อยเป็นอาบัติอย่างเบาจึงไม่แสดงอาบัติแต่เหตุในครั้งนั้นก็ยังคงค้างคาอยู่ในใจของภิกษุรูปนั้นอยู่เสมอตลอดระยะเวลาในช่วงเวลาที่ปฏิบัติธรรมในป่าและคงอยู่เป็นเวลานานแต่เมื่ออยากแสดงอาบัติในการทำใบตะไคร่น้ำขาดในครั้งนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดรับฟังเมื่อภิกษุรูปนี้ได้มรณภาพลงบาปกรรมก็ยังติดตัวไปยังภพใหม่ด้วยจะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วช่วงระยะเวลาการเข้ากรรมของพระสงฆ์นั้นเป็นช่วงที่ท่านแสดงซึ่งอาบัติที่เคยกระทำมาและยอมรับในการทำผิดนั้นมิได้บริสุทธิ์กว่ากาลที่ผ่านมาแต่เป็นความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบันชาวอีสานก็ยังให้ความสำคัญกับงานบุญในเดือนเจียงนี้อยู่แม้จะมีจำนวนลดน้อยลงบ้างตามกาลเวลา
บุญเข้ากรรม
ที่มา http://youtu.be/wh0PHDifiqA