ฮีตที่ ๓ บุญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม
บุญข้าวจี่ นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม คือ ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชาข้าวจี่คือข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ดขนาดใหญ่หรือผลมะตูมขนาดกลางทาเกลือเคล้าให้ทั่ว และนวดให้เหนียวแล้วเสียบไม้ย่างไฟถ้าไม่เสียบไม้จะย่างบนเหล็กหรือบนไม้ไผ่ผ่าซีกสานขดเป็นตะแกรงห่างๆ ก็ได้โดยย่างบนกองไฟที่เป็นถ่านที่พลิกไปพลิกมาจนเกรียมโดยรอบจึงเอาออกมาทาด้วยไข่ซึ่งตีให้ไข่ขาว - แดงเข้ากันดีแล้วทาจนทั่วปั้นข้าวจึงเอาไปย่างไฟให้สุกอีกครั้งหนึ่ง บางแห่งเมื่อเอาข้าวย่างไฟเสร็จแล้ว ถอดเอาไม้ออกแล้วอาจเอาน้ำอ้อยปึกใส่เป็นไส้ข้างในหรือยัดใส่ก่อนย่างไฟก็ได้
ที่มา http://watbannokcom.blogspot.com/2011/02/blog-post_5160.html
"ฮีตหนึ่งนั้นเถิงเมื่อเดือนสามได้
จงพากันจี่ข้าวจี่ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ
กุศลยัง สินำค้ำตามเฮามื้อละคาบ
หากธรรมเนียมจั่งซี้มันแท้แต่นาน
ให้ทำบุญไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อ เอย
คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น
อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า
บ้านเมืองเฮาสิเศร้า ภัยฮ้ายสิแล่นตาม"
ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญเดือนสาม) จะมีการทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา การทำบุญข้าวจี่จะเริ่มตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นใส่น้ำอ้อยนำไปจี่บนไฟอ่อนแล้วชุบด้วยไข่ เมื่อสุกแล้วนำไป ถวายพระ ดังความว่า "....พอเถิงเดือนสามคล้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ปั้นข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อย
จัวน้อยเช็ดน้ำตา..."
วันมาฆบูชา เป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทสำคัญอันถือได้ว่าเป็นหัวใจของคำสอนในพระพุทธศาสนา
คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15ค่ำ) เดือนสามดวงจันทร์โคจรมาเสวยมาฆฤกษ์ แต่ถ้าปีใดมี อธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญกลางเดือนสี่เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นที่พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ รัฐมคธ ในปีแรกของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์คือหลังจากตรัสรู้แล้วได้ 9 เดือน
บุญข้าวจี่
ที่มา http://youtu.be/XIHTihGJCPo