สำนวนไทย

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

สำนวนนี้ โบราณมักใช้พูดกันมาก หมายถึงการกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสมหรือได้สมดุลกัน หรือใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เช่นลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินมาก ๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่า ๆ เปรียบเหมือนตำน้ำพริกเพียงครกเดียว เอาไปละลายในแม่น้ำกว้างใหญ่ เมื่อละลายไปก็จะสูญหายไปหมดสิ้นไปทำให้แม่น้ำเกิดอะไรผิดปกติขึ้น เสียน้ำพริกไปเปล่า ๆ.
รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามขังไว้ มิฉะนั้นวัวจะถูกลักพาหรือหนีหายไปส่วนรักลูกให้เฆี่ยน ก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด.
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

เป็นสำนวนที่หมายถึง คนที่ไม่ช่วยเขาทำงานแล้ว ยังไปทำตัวให้เป็นที่กีดขวางเกะกะแก่งานของเขาอีกด้วย เพราะเมื่อเอาเท้าหรือตีนไปราน้ำเวลานั่งเรือที่เขาพายอยู่ด้วยนั้น ก็ย่อมจะทำให้เท้าไปต้านน้ำไว้ ทำให้เรือแล่นช้าลงอีก