สวนพฤกษศาสตร์ |
|
>> พฤกษศาสตร์ (อังกฤษ: botany) |
|
|
>> ขอบเขตและความสำคัญของพฤกษศาสตร์ |
|
|
>> ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต |
|
|
>> ประวัติศาสตร์ของพฤกษศาสตร์ |
|
|
>> บิดาทางพันธุศาสตร์ |
|
|
>> โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ |
|
|
|
|
|
<< รายละเอียด สวนพฤกษศาสตร์ >> |
|
|
>> ประเภทไม้ผล ไม้ผลยืนต้น |
|
|
>> ประเภทไม้ยืนต้น ไม้ผลยืนต้น (ต่อ) |
|
|
>> ประเภทไม้ดอกไม้ประดับ |
|
|
>> ประเภทไม้ดอก ไม้ประดับ (ต่อ) |
|
|
>> link ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พฤกษศาสตร์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
พฤกษศาสตร์ (อังกฤษ: botany)
|
|
พฤกษศาสตร์ (อังกฤษ: botany) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของชีววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชและการเจริญเติบโต
บางครั้งเรียกว่า ชีววิทยาของพืช พฤกษศาสตร์มีขอบเขตการศึกษาที่กว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่พืช
สาหร่าย และ เห็ดรา ศึกษาทั้งในด้านโครงสร้าง การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม โรค และคุณสมบัติ
ทางเคมีและ ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการระหว่างกลุ่มต่างๆ การศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์
เริ่มต้นจากความรู้ที่สืบต่อกันมา จากการจำแนกพืชที่กินได้ พืชสมุนไพรและพืชมีพิษเป็นศาสตร์ที่เก่าแก่
สาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์จากความสนใจในเรื่องพืชของบรรพบุรษทำให้ปัจจุบันจำแนกสิ่งมีชีวิต
ในด้านพฤกษศาสตร์มากกว่า 550,000 ชนิดหรือสปีชีส์
|
พฤกษศาสตร์ คือความรู้ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะและวงจรชีวิตของพืช เป็นสิ่งนักปรับปรุงพันธุ์
ควรทราบ วิชาการเหล่านี้ได้แบ่งออกเป็นแขนงต่าง ๆ ดังนี้ เช่น อนุกรมวิธาน การศึกษาวิธีการจำแนก
ชนิดและจัดหมวดหมู่พืช) ภายวิภาค (การศึกษาโครงสร้างภายในและส่วนประกอบของเซลล์และ
ส่วนต่าง ๆ ของพืช) พฤกษชีพวิทยา (การศึกษากระบวนการเติบโตของพืช) สรีรวิทยา
(การศึกษาว่าด้วยคุณสมบัติและการกระทำหน้าที่ของอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนของพืช) เป็นต้น
(http://www.kanchanapisek.or.th)
<< กลับ >> |
ขอบเขตและความสำคัญของพฤกษศาสตร์
ดังเช่นสิ่งมีชีวิตอื่นๆ พืชก็สามารถศึกษาได้จากหลายแง่มุม ทั้งในด้านโมเลกุล พันธุศาสตร์
หรือชีวเคมี และศึกษาได้ตั้งแต่ระดับออร์แกเนลล์ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ต้นพืช ประชากร
ไปจนถึงระดับชุมชนหรือ สังคมของพืช ในแต่ละระดับเหล่านี้ นักพฤกษศาสตร์อาจสนใจศึกษา
ได้ทั้งในด้านการจัดหมวดหมู่ (อนุกรมวิธาน) ด้านโครงสร้าง (กายวิภาคศาสตร์) หรือด้านหน้าที่
(สรีรวิทยา)ของส่วนต่างๆ ของพืช
ในอดีตนั้น สิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะถูกจำแนกให้อยู่ในกลุ่มพืชหรือกลุ่มสัตว์ พฤกษศาสตร์จึงครอบคลุมสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ไม่ได้ถูกพิจารณาให้อยู่ในกลุ่มสัตว์
สิ่งมีชีวิตบางจำพวกซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ในสาขาพฤกษศาสตร์ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรพืช
มานานแล้วได้แก่ เห็ดรา (วิทยาเห็ดรา) แบคทีเรีย (วิทยาแบคทีเรีย) ไวรัส (วิทยาไวรัส)
และสาหร่ายเซลล์เดียว ซึ่งกลุ่มสาหร่ายเซลล์เดียวถูกจัดส่วนหนึ่งของโพรทิสตาในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม นักพฤกษศาสตร์ยังคงให้ความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เห็ดรา ไลเคน แบคทีเรีย
และโพรทิสที่มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงยังถูกจัดให้อยู่ในวิชาพฤกษศาสตร์เบื้องต้น
การศึกษาพืชมีความสำคัญมากเพราะพืชเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกๆ บนโลก พืชสร้างแก็สออกซิเจน
อาหาร เชื้อเพลิง และยา ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตชั้นสูงกว่ารวมทั้งมนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
พืชยังดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเป็นแก๊สที่เป็นสาเหตุ
ของปรากฏการณ์เรือนกระจก ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพืชมีความสำคัญต่ออนาคตของ
สังคมมนุษย์ดังต่อไปนี้
การผลิตอาหารให้แก่ประชากรมนุษย์ที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต การผลิตยาและวัสดุต่างๆ เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
และโรคด้านอื่นๆ ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
<< กลับ >>
|
|
|
|
ความเข้าใจในกระบวนการพื้นฐานของชีวิต
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมและสะดวกต่อการศึกษากระบวนการพื้นฐานต่างๆของสิ่งมีชีวิต
(ตัวอย่างเช่น การแบ่งเซลล์ และการสังเคราะห์โปรตีน) โดยไม่มีปัญหาทางจริยธรรมจากการศึกษา
ในสัตว์หรือมนุษย์ กฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของเกรเกอร์ เมนเดล ก็ถูกค้นพบโดยการศึกษา
ด้วยวิธีนี้ โดยศึกษาจากการถ่ายทอดลักษณะของถั่ว
<< กลับ >>
|
|
|
|
ประวัติศาสตร์ของพฤกษศาสตร์
พฤกษศาสตร์ยุคแรก
อินเดียโบราณ มีการค้นพบการจำแนกพืชขึ้นเป็นครั้งแรกในคัมภีร์ฤคเวทซึ่งแบ่งพืชออกเป็น
ไม้ต้น ไม้ล้มลุกที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ และไม้เลื้อย ซึ่งในภายหลังได้ถูกแบ่งย่อยออกไปอีกเป็น 8 กลุ่ม
ในคัมภีร์เวทอาธารวา คือ ไม้ที่กิ่งแผ่กว้าง ไม้ที่ใบเป็นกระจุกและยาว ไม้พุ่ม ไม้ที่แผ่ราบ ไม้ใบเลี้ยงเดี่ยว
ไม้เลื้อย ไม้ที่มีกิ่งก้านมาก ไม้ที่มีปมปมซับซ้อน ผลงานทางด้านสรีรวิทยาของพืชที่สำคัญในสมัยอินเดีย
ตอนกลางประกอบด้วย the Prthviniraparyam of Udayana, Nyayavindutika of Dharmottara,
Saddarsana-samuccaya of Gunaratna และ Upaskara of Sankaramisra
จีนโบราณ บันทึกรายชื่อพืชและพืชที่นำมาปรุงยามีมาหลังสงครามระหว่างแคว้น (481-221
ก่อนคริสต์ศักราช) นักเขียนจีนจำนวนมากตลอดศตวรรษเขียนบันทึกเกี่ยวกับความรู้ทางด้าน
การปรุงยาสมุนไพร ในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีงานเขียนของหวงตี่ เนจิง และนักปรุงยาจาง โจงจิ้ง
มีชื่อเสียงมากในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักวิทยาศาสตร์และรัฐบุรุษ ซูโซ่ง
และ เฉน โคว ได้รวบรวมวิธีการรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพรรวมกับการใช้แร่
กรีกโรมัน ผลงานทางด้านพฤกษศาสตร์ในแถบยุโรปมีมาราว 300 ปีก่อนคริสต์
ศักราช ทีโอฟราตัสมีงานเขียนสองเล่มที่สำคัญคือ On the History of Plants และ On the
Causes of Plants หนังสือสองเล่มนี้ส่งผลให้เกิดการศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์มากขึ้น
นายแพทย์ชาวโรมันเขียนหนังสือรวบรวมการรักษาด้วยสมุนไพรซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญ
ที่แสดงถึงความรู้ทางพฤกษศาสตร์ของกรีกโรมัน
พฤกษศาสตร์สมัยกลาง
อัล ดินาวาริ นักพฤกษศาสตร์ชาวเคอร์ดิช ได้เป็นผู้ก่อตั้ง arabic botany จากหนังสือพืชของเขา
เขาได้อธิบายถึงลักาณะพืชอย่างน้อย 637 ชนิดและได้อภิปรายเกี่ยวกับวิวัฒนาการพืชตั้งแต่จุดกำเนิด
จนถึงการสูญพันธุ์ อธิบายถึงช่วงระยะเวลาการออกดอกและผลของต้นไม้แต่ละชนิด
<< กลับ >>
|