เศรษฐกิจพอเพียงหล่อเลี้ยงชีวิต

เริ่มหน้า 2






ก่อนตัดสินใจทำการสิ่งใด ทั้งการงาน และการดำเนินชีวิต ควรพิจารณาถึง 3 ห่วง ดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป และไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความพอดีของแต่ละคน แต่ละครอบครัว แต่ละองค์กรย่อมไม่เหมือนกัน เราต้องประมาณรู้ของเราเองว่า อัตภาพของเราอยู่ตรงไหน
ความมีเหตุผล หมายถึง ความคิดทบทวนอย่างรอบคอบ ความพิจารณาจากเหตุทุกอย่างที่เกี่ยวข้องและยังต้องคำนึงถึงผลที่ตามมาด้วย
ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การรู้จักจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การเตรียมความพร้อม เพื่อรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา
การตัดสินใจและการจะทำอะไรให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน
ความรู้ คือ ความรอบรู้ ในสิ่งที่จะทำอย่างถ่องแท้ รอบด้าน และใช้ความรู้ให้เหมาะสมกับกาละเทศะ
คุณธรรม หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รู้จักการแบ่งปัน ไม่โลภและไม่ตระหนี่ เป็นคนเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเป็นคนดีด้วย ความเก่งและความดีของเราจะเอื้อประโยชน์แก่ตัวเราและสังคม
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ

สื่อการเรียนการสอน ชุดที่ 1
สื่อการเรียนการสอน ชุดที่ 2
แบบทดสอบเศรษฐกิจพอเพียง
หมดหน้า 2
- « แรก
- ‹ หน้าก่อน
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »