ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

ประโยชน์จากการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มีมากมายดังนี้
ในฐานะผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่ทำให้ตนได้รับความพอใจสูงสุดภายใต้ระดับรายได้ที่มีอยู่ เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์มากที่สุด นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้นๆได้เป็นอย่างดี เช่น สามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการได้อย่างถูกต้องและมีเหตุมีผล กำหนดแผนการบริโภค การออม และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น
ในฐานะผู้ผลิต ทำให้ผู้ผลิตตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิต สินค้าและบริการอย่างคุ้มค่า ประหยัด ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้ธุรกิจได้รับกำไรเพิ่มขึ้น และใน ทำนองเดียวกับผู้บริโภคคือทำให้ผู้ผลิตมีความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เช่น เข้าใจ ในความเป็นไปของปรากฏการณ์ของวัฏจักรเศรษฐกิจว่าโดยปกติเศรษฐกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆ ลงๆอย่างนี้เรื่อยไป ทำให้ผู้ผลิตสามารถตัดสินใจเลือกลงทุนในการดำเนินธุรกิจเหมาะสมกับสถานการณ์ ในขณะนั้นๆ เป็นต้น
ในฐานะรัฐบาล การที่รัฐบาลมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะทำให้เข้าใจลักษณะและโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจและหาแนวทาง แก้ไข โดยกำหนดออกมาเป็นแผนและนโยบายทางเศรษฐกิจที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ
เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
ปัจจุบันนักเศรษฐศาสตร์แยกการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขาใหญ่ๆ คือ
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (microeconomics) เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของหน่วยเศรษฐกิจใดหน่วยเศรษฐกิจหนึ่ง เช่น การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภครายใดรายหนึ่งว่าจะมีการตัดสินใจในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการอย่างไร จำนวนเท่าใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพอใจสูงสุดภายใต้ขีดจำกัดของรายได้จำนวนหนึ่ง พฤติกรรมของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งว่าจะตัดสินใจเลือกผลิตสินค้าอะไร จำนวนเท่าใด ด้วย วิธีการอย่างไร และจะกำหนดราคาเท่าไร จึงจะได้กำไรสูงสุด ศึกษาพฤติกรรมการลงทุน การออมของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ศึกษากลไกตลาดและการใช้ระบบราคาเพื่อการจัดสรรสินค้า บริการ และทรัพยากร อื่นๆ จะเห็นได้ว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาคส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับราคาในตลาดแบบต่างๆ นักเศรษฐศาสตร์บางท่านจึงเรียกวิชาเศรษฐศาสตร์อีกชื่อหนึ่งว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory)
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค (macroeconomics) เป็นการศึกษาภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวม ทั้งระบบเศรษฐกิจหรือทั้งประเทศ อันได้แก่ การผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริโภค การออม และการลงทุนรวมของประชาชน การจ้างงาน ภาวะการเงินและการคลังของประเทศ ฯลฯ เศรษฐศาสตร์มหภาคโดยทั่วไปจะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น รายได้ประชาชาติ วัฏจักรเศรษฐกิจ เงินเฟ้อและระดับราคา การคลังและหนี้สาธารณะ เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ การเงินและสถาบันการเงิน และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ฯลฯ
ความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
ได้ความรู้มากจริงๆๆๆๆๆๆ
ได้ความรู้เยอะมาก ขอบคุณครับ