การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรกหากคิดจะวางแผนเพื่อดำเนินการในเรื่องใด ๆ ก็ตาม
การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ก็เช่นเดียวกัน ที่เราจะต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายของการ
วางแผนทางการเงิน ซึ่งการกำหนดเป้าหมายของการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล ก็คือ การกำหนด
เป้าหมายในการดำเนินชีวิตของตัวเราเองหรือการกำหนดจุดหมายปลายทางหรือเป้าหมายที่ต้องการทำ
และเดินไปให้ถึง
เป้าหมายเปรียบเสมือนธงที่ปักไว้ที่จะทำให้เราเดินไปข้างหน้า เพื่อไปสู่เส้นชัยได้ง่ายและเร็วขึ้น
โดยไม่ต้องมัวเสียเวลากับการเดินหลงทาง ดังนั้นก่อนทำการลงมือวางแผนทางการเงินเราจะต้องทำการ
พิจารณาถึงความต้องการที่แท้จริงของตัวเราเองว่าเราต้องการอะไร หรือต้องการที่จะเห็นชีวิตครอบครัว
เป้าหมายชีวิตที่ต้องการได้นั้น มักจะต้องใช้เงินเป็นตัวกลางในการทำให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นในการวาง
แผนทางการเงินของบุคคล เป้าหมายที่กำหนดจึงต้องกำหนดเป้าหมายในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการ
กำหนดเป้าหมายทางการเงินด้วยเสมอ ซึ่งโดยทั่วไปจะเห็นว่าเป้าหมายของคนเรานั้น ในการทำให้สำเร็จ
จะใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของเป้าหมายที่ต้องการ บางเป้าหมายสามารถทำให้
สำเร็จได้โดยใช้เวลาไม่มากนั้ก แต่บางเป้าหมายต้องใช้เวลานามหลายปี ดังนั้นโดยทั่วไปเราจึงสามารถ
แบ่งเป้าหมายในการดำเนินชีวิต และเป้าหมายทางการเงินตามระยะเวลาได้เป็น 2 ระยะ คือ
1. เป้าหมายระยะสั้น : เป็นเป้าหมายที่เราสามารถทำให้สำเร็จได้ภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี
เช่น ต้องการเก็บเงินให้ได้ 10,000.- บาท เพื่อซื้อโทรทัศน์
ต้องการเก็บเงินให้ได้ 15,000.- เพื่อพาครอบครัวไปเที่ยวตอน
สิ่นปี เป็นต้น
2. เป้าหมายระยะยาว : เป็นเป้าหมายที่ต้องใช้เวลานานเกินกว่า 1 ปี จึงจะสามารถทำให้
สำเร็จได้ เช่น ต้องการเก็บเงินให้ได้ 400,000.- บาท เพื่อเอาไว้
ดาวน์บ้านในอีก 3 ปี ข้างหน้า ต้องการเก็บเงินเอาไว้ซื้อที่ดิน ซึ่ง
มีราคา 600,000.- บาทในอีก 4 ปีข้างหน้า เป็นต้น

การจะระบุว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้นเป็นเป้าหมายระยะสั้นหรือระยะยาวนั้น สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา
ร่วมด้วยก็คือ ความสามารถในการหารายได้ของบุคคลเพราะถึงแม้ว่าจะกำหนดเป้าหมายเดียวกัน เป้าหมายนั้น
อาจเป็นเป้าหมายระยะยาวสำหรับางคน แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นเป้าหมายระยะสั้นของ อีกคนก็ได้