ชนิดของประโยค
ประโยค
ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีเนื้อความครบสมบูรณ์ ทำให้รู้ว่าใครทำอะไร เช่น นักเรียนอ่านหนังสือ, ใครมีสภาพอย่างไร เช่น หน้าต่างเปิด, หรือใครรู้สึกอย่างไร เช่น คุณพ่อโกรธ
ประโยคแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคประธานกับภาคแสดง
ภาคประธาน คือส่วนสำคัญของข้อความ เพื่อบอกให้รู้ว่าใคร หรือสิ่งใด มักเป็นคำนามหรือสรรพนาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ บทประธานและบทขยายประธาน
ภาคแสดง คือส่วนที่แสดง อาการของภาคประธาน ให้ได้ความหมายครบถ้วน ว่าแสดงอาการอย่างไร แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ บทกริยา บทขยายกริยา บทกรรม และบทขยายกรรม
ประโยคแต่ละประโยคจะต้องมี บทประธาน บทกริยา หรือ บทประธาน บทกริยา และบทกรรม ส่วนบทขยายนั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้
เราสามารถแบ่งรูปประโยคได้หลายชนิด ดังนี้
2. ประโยคปฏิเสธ คือประโยคที่มีใจความไม่ตอบรับ มีเนื้อความตรงกันข้ามกับประโยคบอกเล่า มักใช้คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ มิได้ ประกอบ เช่น ฉันไม่ได้ลอกการบ้านเพื่อน ปากกาด้ามนั้นไม่ใช่ของฉัน
3. ประโยคคำถาม คือประโยคที่มีใจความเป็นคำถาม เพื่อต้องการคำตอบ คำที่เป็นคำถามจะอยู่ต้นประโยค หรือท้ายประโยคก็ได้ ประโยคคำถามมี 2 ลักษณะดังนี้
1.ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับหรือปฏิเสธ มักมีคำที่ใช้ถามว่า หรือ หรือไม่ ไหน อยู่ท้ายประโยคคำถาม เช่น
2.ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเป็นเนื้อความใหม่ มักมีคำที่ใช้ถามว่า ใคร อะร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เหตุใด เท่าใด คำเหล่านี้จะอยู่ต้นประโยคหรือท้ายประโยคก็ได้ เช่น
4. ประโยคขอร้อง คือประโยคที่มีข้อความแสดงความต้องการให้ช่วยเหลือในลักษณะต่าง ๆ มักจะมีคำว่า โปรด กรุณา ช่วย วาน อยู่หน้าประโยค และมักจะมีคำว่า หน่อย ซิ นะ อยู่ท้ายประโยค เช่น โปรดมานั่งข้างหน้าให้เต็มก่อน กรุณาอย่าจอดรถขวางประตู วานลบกระดานดำให้ครูหน่อย
5. ประโยคคำสั่ง คือประโยคที่บอกให้บุคคลอื่นทำ หรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะละประธานไว้ เช่น ห้ามเดินลัดสนาม อย่าคุยกันในห้องเรียน
6. ประโยคแสดงความต้องการ คือประโยคที่แสดงความอยากได้ อยากมี อยากเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักมีคำว่า อยาก ต้องการ ปรารถนา ประสงค์ อยู่ในประโยค เช่น พ่อต้องการให้ฉันเป็นทหาร ฉันอยากเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษา พี่ปรารถนาจะให้น้องเรียนหนังสือเก่ง ครูประสงค์จะให้นักเรียนลายมืองาม