คำนิยามของ “หนังสั้น”

หนังสั้นก็มีจุดกำเนิดพร้อมกันกับภาพยนตร์ที่เราดูกันเป็นปรกติทุกวันนี้ ภาพยนตร์เรื่องแรกของโลก เมื่อคนยุคสมัย 100 กว่าปีก่อนได้เข้าไปในสถานที่แห่งหนึ่ง และได้เห็นภาพที่ตัวเองที่ไม่เคยเห็นมาก่อน นั่นคือรถไฟค่อยๆ จอดเทียบชานชาลา พวกเขาเชื่อว่าตนเองเกือบจะโดนรถไฟชน นั่นคือจุดเริ่มต้นของคำว่า “ภาพยนตร์” หนึ่งในมหรสพที่คนทุกผู้ทุกนามไม่อาจจะปฎิเสธได้แต่ในวันนี้คงจะหาดูได้ยากสักหน่อย
หนังสั้น จะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ดำเนินและจบลงอย่างรวดเร็ว หนังสั้นทั้งหมดมักจะมีเรื่องราวหลักเพียงเรื่องเดียว
ถ้าเป็นไปในนิยามมักจะกำหนดให้หนังสั้นยาวไม่เกิน 30 หรือ 40 นาที เพราะถือว่าเป็นความยาวที่พอเหมาะ คำถามต่อมาก็คือ แล้วจะดูรู้เรื่องไหมนั่น? ไม่มีกติกาตายตัวว่าหนังสั้นจะต้องดูแล้วรู้เรื่องหรือเปล่า เพราะ เล่าเรื่องในลักษณะใดก็ได้ ทำได้แม้กระทั่งเป็นเพียง Concept หรือบอกอะไรบางอย่างให้แก่คนดูโดยที่คนดูก็ไปคิดไปตีความกันเอาเอง
ถ้าพูดถึงหนังสั้นในบ้านเรา แนวทางที่นิยมสร้างกันก็ไม่ได้มีหลากหลายอะไร เช่น โรแมนติก (นักเรียนจะชอบทำแนวนี้มากที่สุด น่าจะเพราะได้อิทธิพลจากหนังรักเกาหลี),สยองขวัญ,ตลก,แอ็คชั่น และหนังทดลอง หนังที่เป็นการลองนำเสนอภาพและเสียงด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อดูว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่สำหรับหนังทดลองแล้ว ลำพังแค่เอากล้องไปถ่ายเหวี่ยงๆ แปลกๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นหนังทดลองแล้ว แต่คนทำจะต้องรู้ด้วยว่ากำลังพยายามทำอะไร หรือกำลังพยายามทดลองอะไรอยู่ สำหรับมือใหม่ที่อยากทำหนังสั้น อยากจะแนะนำให้เริ่มต้นจากการทำหนังสองแบบ คือหนึ่ง หนังเล่าเรื่องปรกติที่เล่าเรื่องง่ายๆ และสองคือ หนังสารคดี