อาณาจักรศรีวิชัย
ขอบคุณภาพจาก : http://item.slide.com/r/1/70/i/HXRe4IG66j_Q4_MtgT1l-6_3auEX1IRH/
ศูนย์กลางของศรีวิชัยจึงเป็นปัญหาที่ยังไม่ยุติ แต่กระนั้นบริเวณคาบสมุทรมลายูก็เป็นส่วนหนึ่งของศรีวิชัยและเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลที่มีชื่อเสียงมาก มีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม ประชาชนนับถือศาสนาพุทธมหายานและศาสนาพราหมณ์ ร่องรอยที่เหลือไว้คือโบราณสถานและโบราณวัตถุ ทางด้านสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงคือ พระบรมธาตุไชยา เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมทรงมณฑปและเจดีย์ศรีวิชัยที่วัดแก้ว ในอำเภอไชยาจังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากนั้นยังมีที่จังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และพังงา เป็นต้น ส่วนตอนบนของประเทศไทยมีร่องรอยแสดงว่าอิทธิพลของศรีวิชัยได้แพร่ขึ้นไปอาจเป็นเพราะเมื่อครั้งสมัยสุโขทัยตอนต้นๆ ได้รับเอาพุทธศาสนาและศิลปกรรมไปจากเมืองนครศรีธรรมราช ทำให้มีสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ที่จังหวัดสวรรคโลก คือ มณฑปวัดเจดีย์เจ็ดแถว และเจดีย์ในวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งเจดีย์องค์เล็กในวัดพระธาตุ หริภุญชัย เป็นต้น
ทางด้านประติมากรรมมีพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงคือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พบที่วัดมหาธาตุ อำเภอไชยา มีพระพิมพ์ดินดิบปางต่างๆ พระพิมพ์ติดแผ่นเงินแผ่นทองทางด้านศาสนาพราหมณ์ได้แก่ เทวรูปพระมาลาแขก เทวรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นต้น
เครื่องมือเครื่องใช้มีเครื่องปั้นดินเผาทำเป็นภาชนะหม้อไห ใช้สีเขียนลวดลายและทำเป็นแบบลูกจันทร์นูนขึ้นมาประดับลวดลายอื่นๆ มีลูกปัดทำเป็นเครื่องประดับ มีเงินกลมใช้เรียกว่า นะโม และเงินเหรียญชนิดหนาใช้แลกเปลี่ยนด้วย มีตราดอกจันทร์อยู่ด้านหนึ่งอีกด้านหนึ่งมีตัวอักษรสันสกฤตเขียนไว้ว่า “วร” ประดับอยู่
ราชวงศ์ที่ปกครองศรีวิชัยคือราชวงศ์ไศเลนทร์ ปกครองตลอดทั่วไปในแหลมมลายูลงไปถึงเกาะต่างๆ ศรีวิชัยมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเพราะสามารถควบคุมช่องแคบมะละกาได้ เรือที่ผ่านไปมาต้องแวะพักจอดเรือตามเมืองท่าต่างๆ ของแค้วนศรีวิชัย
ศรีวิชัยมีความสัมพันธ์กับประเทศจีนเป็นอย่างดี มีการส่งคณะทูตไปเจริญสัมพนธ์ไมตรีกับจีนเป็นระยะๆ ประมาณ 12 ครั้ง และใน พ.ศ. 1536 เคยขอความช่วยเหลือจากจีนให้ช่วยปราบกองทัพของชวาที่ยกมารุกราน และใน พ.ศ. 1550 ศรีวิชัยได้ทำสงครามกับแคว้นมะทะรัม ซึ่งอยู่ในชวากลาง และได้รับชัยชนะจึงมีอำนาจเหนือมะทะรัม
กลางพุทธศตวรรษที่ 16 ทำสงครามกับพวกโจละ (Chola อยู่ทางตะวันออกของอินเดีย) เพราะโจละ จะเข้าแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าแถบแหลมมลายูไปจากศรีวิชัย การรบดำเนินมาหลายปี ที่สำคัญเกิดขึ้นใน พ.ศ. 1568 แถบเมืองตักโกละ (ตะกั่วป่า หรือ ตรัง) เคดาห์ ตูมาสิก (สิงคโปร์) ลังกาสุคะ นครศรีธรรมราช ไชยา แม้จะยึดครองศรีวิชัยไม่ได้แต่สงครามครั้งนี้มีผลให้บรรดาเมืองต่างๆ ที่เคยขึ้นต่อแคว้นศรีวิชัยกระด้างกระเดื่องจนถึงขั้นยกทัพมาชิงดินแดนบางแห่ง เช่น พระเจ้าไอร์ลังคะ แห่งแคว้นเคดีรีในชวาตะวันออก ผลจากการทำสงครามกับโจละ ทำให้ศูนย์กลางจากศรีวิชัยย้ายจากเมืองไชยาไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาอำนาจทางการปกครองของศรีวิชัย เปลี่ยนจากราชวงศ์ไศเลนทร์ไปเป็นราชวงศ์ปทุมวงศ์ กษัตริย์ของศรีวิชัยราชวงศ์ใหม่พยายามรักษาอิทธิพลบนแหลมมลายูไว้ รวมทั้งช่องแคบและหมู่เกาะ
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 ศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงมาก เพราะเกิดจลาจลในคาบสมุทรมลายู และมีแคว้นคู่แข่งเกิดขึ้น 2 แห่งคือ ในชวาตะวันออกมีแคว้น เคดีรี ส่วนทางเหนือมีอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งราชวงศ์มองโกล (พ.ศ. 1803 – 1911) ของจีนให้การสนับสนุนเคดีรีเขายึดครองบางส่วนของศรีวิชัย คือดินแดนบางส่วนในอินโดนีเซียปัจจุบันไว้ ต่อมาได้สูญเสียคาบสมุทรมลายูให้กับอาณาจักรสุโขทัยที่ยึดนครศรีธรรมราชได้ แล้วสุโขทัยได้แผ่ขยายอำนาจลงมาเรื่อยๆ ศรีวิชัยจึงสลายลงโดยปรากฏจากหลักฐานของมาร์โคโปโล นักสำรวจชาวเวนิส ใน พ.ศ. 1835 ที่แวะเยือนสุมาตราระหว่างเดินทางกลับจากจีน หลังจากที่อยู่ที่จีนได้ 17 ปี มาร์โคโปโลไม่ได้บันทึกเรื่องราวของศรีวิชัยเลย กล่าวแต่ว่ามีแคว้นเล็ก 8 แห่ง จึงตีความได้ว่าศรีวิชัยอาจแตกเป็นแคว้นต่างๆ หรือเมืองต่างๆ 8 แห่ง โดยแต่ละเมืองมีกษัตริย์ปกครอง
ขอบคุณภาพจาก : http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/5/5c/%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%
พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นบ้านเมืองและแคว้นหรือรัฐร่วมสมัยอาณาจักรศรีวิชัย (สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, 2531 : 58-70) คือ แคว้นไชยา มีขอบเขตตั้งแต่อำเภอท่าชนะ อำเภอไชยา อำเภอเมือง และอำเภออื่นๆ ในเขตจังหวัดสัราษฎร์ธานี มีไชยาเป็นศูนย์กลาง พบศาสนสถานและศิลปกรรมหลายแห่ง เช่น ที่วัดแก้วไชยา พระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่างๆ แคว้นนครศรีธรรมราช มีขอบเขตในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อที่ปรากฏตามหลักฐานและเอกสารต่างๆ คือ “ตามพรลิงค์” แคว้นสทิงพระ มีขอบเขตจากบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง พบร่องรอยโบราณศิลปวัตถุที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา แคว้นปัตตานีมีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา พบร่องรอยเมืองท่าทีสำคัญคือ ตรังและเมืองตะกั่วป่า