การปฐมพยาบาลเบื้องต้น : เครื่องใช้ในการทำแผล
เครื่องใช้ในการทำแผล

เครื่องใช้ในการทำแผล
1. สำลี หรือผ้าก็อสสำหรับชุบน้ำยาเช็ดแผลและผิวหนังรอบแผล
2. น้ำยาสำหรับทำความสะอาดเลือกใช้ตามความเหมาะสม
2.1 น้ำเกลือ ใช้สำหรับล้างแผล นิยมใช้มากเพราะมีความเข้มข้นใกล้เคียงกับระดับความเป็นกรด-ด่างของเลือด จงทำให้ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ และขณะทำแผลผู้ป่วยไม่แสบ ถ้าไม่มีให้ใช้น้ำ 1 ลิตร ผสมเกลือ 1 ช้อนชา ต้มให้เดือด แล้วปล่อยให้เย็น นำมาใช้แทนน้ำเกลือได้
2.2 . น้ำต้มสุก ใช้แทนน้ำเกลือกรณีที่ไม่มีน้ำเกลือ
3. แอลกอฮอล 70% ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบๆ แผล เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคที่อยู่ตามผิวหนัง
4. ทิงเจอร์ไอโอดีน 2.5% ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบแผล และให้ใช้แอลกอฮอล 70% เช็ดตามด้วยทุกครั้งทั้งนี้เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้พอง
5. เบทาดิน (Betadine) ใช้สำหรับเช็ดแผลและผิวหนังรอบแผล เนื่องจากน้ำยานี้มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ระคายเคืองเนื้อเยื่อและผิวหนังเหมือนกับทิงเจอร์ไอโอดีน จึงนิยมใช้ค่อนข้างมาก
6. ยาเหลือง (Acriflavine) ใช้ใส่แผลเรื้อรังต่างๆ
7. ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซค์ ใช้สำหรับล้างแผลสกปรก แผลมีหนอง แผลที่ถูกของแหลมทิ่มตำ เช่น ตะปู
8. ผ้าก๊อส แผลทั่วไปนิยมใช้ผ้าก๊อสปิดแผล ขนาดที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของแผล
9.พลาสเตอร์ นอกจากนี้อาจใช้ผ้าพันแผล ผ้าผูกยึด
วิธีการทำแผล
ก่อนลงมือทำแผล ควรช่วยผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมในการทำแผล บางครั้งอาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าออก และใช้ผ้าห่มคลุม เปิดเฉพาะตำแหน่งแผล วิธีทำแผล แบ่งออกได้ 2 วิธี คือ
1. การทำแผลชนิดแห้ง (dry dressing) ใช้ทำแผลชนิดที่เปิดปากแผลปิด เช่น แผลผ่าตัดที่แผลติดกัน
2. การทำแผลชนิดเปียก (wet dressing) ใช้ทำแผลชนิดที่ปากแผลเปิด เช่น แผลเปื่อยกดทับ แผลผ่าตัดที่มีการติดเชื้อแล้วขอบแผลแยก แผลผ่าตัดที่แพทย์ไม่เย็บขอบแผลเข้าหากัน
ขั้นตอนการทำแผลทั้งสองวิธีแตกต่างกันเฉพาะการเช็ดแผล การทำแผลชนิดแห้ง เพียงแต่ใช้สำลีชุบ แอลกอฮอล 70% เช็ดแผลและผิวหนังรอบแผลเท่านั้น ส่วนการทำแผลชนิดเปียกนั้นใช้สำลีชุบน้ำยาระงับเชื้อเช็ดผิวหนังที่ชิดแผลและบริเวณรอบๆแผลก่อน แล้วจึงใช้น้ำเกลือหรือน้ำยาล้างแผลชนิดอื่นล้างแผลให้สะอาด เมื่อสะอาดดีแล้วใช้ผ้าก๊อสชุบน้ำเกลือใส่ไว้ในแผล เช็ดผิวหนังรอบแผลให้แห้งจึงปิดแผล