ประเพณีสู่ขวัญข้าว
ประเพณีสู่ขวัญข้าว
ประเพณีสู่ขวัญข้าวหรือเรียกบุญสู่ขวัญข้าวจะกระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉางและบูชาพระแม่โพสพเพื่อป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ไม่ให้มาทำลายข้าว เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป
การทำพิธีสู่ขวัญข้าวจำทำโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิงนุ่งขาว ห่มขาวเป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้ม เผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น) นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว นำขอฉายคอนกระบุง (บางหมู่บ้านใช้ผ้าสีผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนา เจตนาของตน ร้องเรียกแม่โพสพ ใจความคือเชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้ง ฉาง บางหมู่บ้าน เพื่อนบ้านขานรับจนถึงบ้าน นำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว บางหมู่บ้านมีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญเข้ายุ้ง โดยมีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้ง การสู่ขวัญด้วยสำนวนหรือภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไป
ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่ในหมู่บ้านทั้งสี่อำเภอ เช่น หมู่บ้านหนองโพธิ์ ตำบลศรีนาวา สู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย
ขอบคุณเนื้อหาจาก : http://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=018
http://beebeegang.blogspot.com/2008/08/blog-post_8448.html
ขอบคุณรูปภาพจาก : http://www.youtube.com/watch?v=FZIFIoQpUvs&feature=related