ความเป็นมาของเรื่องขุนช้าง ขุนแผน
การชำระเรื่องนี้ได้พบสำนวนที่พอทราบนามผู้แต่งได้ดังนี้
1. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มี 4 ตอน คือ
1.1 พลายแก้วได้นางพิม
1.2 พลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง
1.3 ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างและได้นางแก้วกิริยา
1.4 ขุนแผนพานางวันทองหนี
2. บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 มี 2 ตอน คือ
2.1 ขุนช้างขอนางพิม
2.2 ขุนช้างตามนางวันทอง
3. สำนวนของสุนทรภู่ มี 1 ตอน คือ
3.1 กำเนิดพลายงาม
4. สำนวนของครูแจ้ง มี 5 ตอน คือ
4.1 กำเนิดกุมารทอง
4.2 ขุนแผนแก้พระท้ายน้ำ
4.3 ขุนแผนและพลายงามจับพระเจ้าเชียงใหม่
4.4 ขุนแผนและพลายงามยกทัพกลับ
4.5 จระเข้เถรขวาด
เวลาแต่ง แต่งในสมัยรัชกาลที่ 2
ลักษณะการแต่ง เป็นกลอนเสภา
ความมุ่งหมาย แต่งถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นนิยายพื้นบ้านของสุพรรณบุรีที่แต่งขึ้นจากเรื่องจริงเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีซึ่งมีหลักฐานอยู่
ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าโดยแต่งเป็นบทกลอนสำหรับขับเสภาให้ประชาชนฟัง เมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนที่มีผู้แต่งไว้ตั้งแต่งสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นเหลืออยู่เพียงบางตอนเท่านั้นเพราะถูกไฟไหม้และสูญหายไปเมื่อครั้งเสียกรุงกับพม่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯให้กวีหลายท่าน เช่น พระองค์กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓ ) สุนทรภู่ ครูแจ้ง เป็นต้นให้ช่วยกันแต่งเพิ่มเติมขึ้น โดยแบ่งกันแต่งเป็นตอน ๆ ไปจนจบเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภทกลอนเสภามีสำนวนโวหารที่ไพเราะคมคาย มีคติเตือนใจ สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตและสังคมความเป็นอยู่ของคนไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย และยังให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆความเชื่อทางโชคลาง สำนวนโวหารและคติสอนใจจากเรื่อง อารมณ์ขันของกวี