ความสัมพันธ์ของประเพณีกับวิชาต่างๆ
ความสัมพันธ์ของประเพณีกับวิชาต่างๆ
ภาษา
โดยเหตุที่ประเพณีคือแบบแผนพิธีการที่ประพฤติปฏิบัติกันในสังคม ภาษาที่ใช้ในประเพณีจึงมีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น
ภาคเหนือมีประเพณีบุญบั้งไฟ ภาคอีสาน มีเซิ้งบ้องไฟ
ภาคเหนือมีการสู่ขวัญ ภาคอีสานเรียกว่าฮ้องขวัญ ภาคกลางเรียกว่าทำขวัญ
คหกรรม
คหกรรมศาสตร์ คือวิชาซึ่งมีพื้นฐานเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งงานประดิษฐ์ตกแต่งต่างๆดังนั้น คหกรรมศาสตร์จึงมีบทบาทเกี่ยวข้องกับประเพณี
อาหารและเครื่องใช้ในประเพณี
ประเพณีต่างๆเป็นวิธีการที่คนทำกำหนดขึ้น โดยเชื่อว่าเป็นแบบแผนที่ดี ทำเพื่อความเป็นสิริมงคล อาหารและเครื่องใช้ที่ใช้ในงานประเพณีจึงเลือกใช้อาหารที่มีชื่อเป็นมงคล เช่น ประเพณีแต่งงาน มักเลือกใช้อาหารที่มีชื่อเป็นมงคล มีความหมายถึงความร่ำรวย เจริญรุ่งเรือง เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น ขนมถ้วยฟู
ส่วนในประเพณีบางอย่างมีการทำขนม เกี่ยวกับความเชื่อ เช่น ในประเพณีชิงเปรต ใช้ขนมลา ซึ่งทำด้วยแป้งโรยเส้นบางๆ เหมือนเส้นไหม สานกันเป็นแผ่น หมายถึงเสื้อผ้า ขนมกง มีลักษณะเหมือนกงล้อ หมายถึงรถหรือยวดยาน
ในวันสาทร มีการกวนข้าวกระยาทิพย์ ซึ่งนำเอาพืชพันธุ์ธัญญาหารแรกได้มากวนทำเป็นขนมเพื่อนำไปถวายพระ และแจกจ่ายให้กัน ตามความเชื่อว่าการทำบุญควรใช้สิ่งของที่ดี จะส่งผลให้ได้รับสิ่งดียิ่งขึ้น ปีต่อไปจะพืชผลอุดมสมบูรณ์
ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่จะใช้ในพิธีชักพระ ซึ่งสมมติว่าพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ เหาะผ่านมา จึงต้องรีบเร่งตักบาตรอย่างรวดเร็ว
นอกจากอาหารแล้ว งานคหกรรมฯ ยังเกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ต่างๆที่ใช้ในงานประเพณี ซึ่งจัดทำอย่างประณีต เช่น การจัดพานสำหรับใช้ในโอกาสต่างๆ เช่น พานพุ่ม พานรดน้ำ บายศรี ฯลฯ โดยดอกไม้และข้าวของที่ใช้ในการจัดทำเครื่องใช้จะคำนึงถึงการใช้ชื่อที่มีความหมายในทางที่ดี เช่น มักใช้ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย ใบเงิน ใบทอง ฯลฯ และมีการตั้งชื่อเรียกให้มีความหมายสอดคล้องกับความเชื่อ เช่น การจัดทำบายศรีสำหรับเทวดาชั้นสูง เรียกว่าบายศรีพรหม มีสิบหกชั้น เพราะพรหมมีสิบหกชั้น เรียกว่าโสฬสพรหม
สังคมศึกษา
ประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้นการศึกษาวิชาสังคมศาสตร์ จึงอาจทำให้มองเห็นความสัมพัน์เกี่ยวข้องกับประเพณี เช่น
นางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไท เป็นผู้คิดประดิษฐ์กระทงรูปดอกบัวในพิธีลอยประทีป ทำให้มองเห็นว่า ประเพณีลอยประทีปมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และในปัจจุบัน จังหวัดสุโขทัยก็ยังอนุรักษ์ประเพณีนี้เป็นงานใหญ่ประจำจังหวัด